ฝ่ายงานความหลากหลายทางชีวภาพและโครงการพระราชดำริ (อพ.สธ.)
สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ผลผลิตโครงการฯ สื่อองค์ความรู้ ติดต่อเรา


 

เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและ นวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย(อพ.สธ.-มร.ชร.) ครั้งที่ 1/2556 ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยม ีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นประธานในที่ประชุมและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำรัส กลิ่นหนู ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2564 และรายงานผลความก้าวหน้าผลการดำเนินงานประจำปี 2565

ทั้งนี้มีนายพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการอพ.สธ. และ ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการคณะกรรมการอพ.สธ. ได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะ ชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน และแนะนำให้สมัครเป็นศูนย์ประสานงานโครงการอพ.สธ. จังหวัดเชียงราย

"ฝ่ายงานความหลากหลายฯ ลงพื้นที่สำรวจ ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำบ้านป่าข่า" วันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ 2565 ฝ่ายงานความหลากหลาย ทางชีวภาพและโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่อง มาจากพระราชดำริฯ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและ นวัตกรรม ลงพื้นที่สำรวจ ความหลากหลายของพรรณไม้และการกักเก็บคาร์บอน เหนือพื้นดินของต้นไม้ในพื่นที่ ป่าชุ่มน้ำบ้านป่าข่า ตำบลป่าตาล อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย โดยมีผู้นำชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่เข้าร่วมการสำรวจ ในครั้งนี้ด้วย เพื่อนำข้อมูลจัดทำเป็นฐานข้อมูลทรัพยากรของชุมชน และสร้างความตระหนักให้คนในชุมชนได้เห็น ความสำคัญของทรัพยากรท้องถิ่นในพื้นที่ป่าของชุมชน

จากกิจกรรมการส่งมอบเอกสารความรู้วิชาการด้านความ หลากหลายทางชีวภาพให้แก่ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพ ราษฎรไทยบริเวณชายแดนเชียงราย อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เพื่อให้ทางหน่วยงานที่รับมอบ ได้นำไปใช้ประโยชน์ทางการเรียนการสอน นำไปสู่การขยายผลส่งต่อเอกสารความรู้วิชาการด้าน ความหลากหลายทางชีวภาพสู่ครูประจำศูนย์ใน อำเภอเชียงแสนมากกว่า 20 คน

"เราจะเป็นความรู้ให้ชุมชน เพราะเราคือมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน"

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 นายสุทธิ มลิทอง รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกกรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พร้อมด้วยนายบุญทับ กันทะเตียนและนายบุญเป็ง ต่อมใจ เป็นวิทยาการถ่ายทอดองค์ความรู้การเลี้ยงผึ้งโพรงป่า และสอนการทำโก๋นผึ้งแบบง่ายๆ เพื่อให้เกษตรได้ทำเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ ในโครงการส่งเสริมอาชีพประชาชนตำบลท่า ซึ่งจัดโดยเทศบาลตำบลท่าสุด อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงรา

กิจกรรม พัฒนาแปลงสาธิตการเลี้ยงผึ้งโพรงป่า (ผึ้งโก๋น)

วันที่ 26 มกราคม 2565 ฝ่ายงานความหลากหลายทาง ชีวภาพ และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริฯ ได้จัดกิจกรรมฝึกอบรมการทำโก๋นผึ้ง โดยมีนายบุญเป็ง ต่อมใจ เจ้าหน้าที่ศูนย์เชียงแสน มาถ่ายทอด เทคนิคการทำโก๋นผึ้งแบบง่าย รวมถึงการตั้งล่อผึ้ง และการทำความสะอาดโก๋นผึ้งเดิม ให้กับลูกจ้าง และบุคลากร ฝ่ายงานความหลากหลายทางชีวภาพและโครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ณ พื้นที่ แปลงสาธิตการเลี้ยงผึ้งโก๋น อาคารฝ่ายงานความหลากหลายทางชีวภาพและ โครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ซึ่งผลการอบรมเป็นการพัฒนาทักษะความรู้ลูกจ้าง และบุคลากร ให้สามารถดูแลและพัฒนาแปลงสาธิตการเลี้ยงผึ้งโก๋น ของหน่วยงานได้อย่างมีระบบ

[กิจกรรมหลากหลาย]

"ฝ่ายงานความหลากหลายฯ ร่วมสนับสนุน อปท. ในงาน ฐานทรัพยากรท้องถิ่น ระหว่างวันที่ วันที่ 19-20 มกราคม 2565"
- วันที่ 19 มกราคม 2565 ฝ่ายงานความหลากหลายทางชีวภาพ และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริฯ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นำโดย นายสุทธิ มลิทอง รองผู้อำนวยการฯ ให้คำแนะนำในการวางแปลงและสำรวจพรรณไม้ในพื้นที่ ปกปักทรัพยากรท้องถิ่นในงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นของ เทศบาลตำบลท่าสุด อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เพื่อให้การดำเนินการ สำรวจทรัพยากรท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและครบถ้วน ณ สำนักงานเทศบาลตำบลท่าสุด
- วันที่ 20 มกราคม 2565 ฝ่ายงานความหลากหลายฯ ร่วมพิธีเปิดป้ายพื้นที่ปักปักทรัพยากรท้องถิ่นของเทศบาล ตำบลท่าสุด โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นประธานในพิธี และวางแปลงและสำรวจพรรณไม้ในพื้นที่ปกปักทรัพยากร ท้องถิ่นร่วมกับเจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลท่าสุดและ ปราชญ์ภูมิปัญญาของตำบลท่าสุด รวมทั้งช่วยสนับสนุนข้อมูลความถูกต้องทางวิชาการ

"ฝ่ายงานความหลากหลายฯ ร่วมสนับสนุน อปท. ในงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น"

วันที่ 18 มกราคม 2565 ฝ่ายงานความหลากหลายทางชีวภาพและโครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เข้าร่วมประชุมเพื่อให้คำ แนะนำในการวางแผนการดำเนินงาน งานฐานทรัพยากรท้องถิ่นของเทศบาลตำบลสิริเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ณ สำนักงานเทศบาลตำบลสิริเวียงชัย เพื่อให้การร่วมสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราช ดำริฯ (อพ.สธ.) งานฐานทรัพยากรท้องถิ่นในปีงบประมาณ 2565 ของเทศบาลตำบลสิริเวียงชัย ให้มีประสิทธิภาพ และดำเนินงานสำเร็จดังแผนการดำเนินงาน ทั้งนี้ ฝ่ายงานความหลากหลายทางชีวภาพและโครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยังได้ส่งมอบ แผ่นป้ายพรรณไม้ที่ทางสถาบันฯ ได้เคยสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้ในพื้นที่ ป่าปกปัก มา ณ โอกาสนี้ด้วย

วันที่ 11 มกราคม 2565 เจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลท่าสุด อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เข้ามาขอรับคำปรึกษาและร่วมวางแผนการสำรวจ ทรัพยากร ท้องถิ่นในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่นของตำบลท่าสุด เพื่อให้การสำรวจจริงในพื้นที่เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน

กิจกรรมเกี่ยวข้าวพื้นเมืองเชียงแสน ณ ศูนย์การเรียนรู้เชียงแสน มร.ชร. นำโดยนายสุทธิ มลิทอง รองผู้อำนวยการ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมและบริการวิชาการ พร้อมบุคลากร เกี่ยวข้าวพื้นเมืองเชียงแสนเพื่อเก็บรักษาอนุรักษ์พันธุ์ต่อไป เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 64

กิจกรรมสนับสนุนงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ได้ดำเนินการสนับสนุนกล้าไม้ยางนา Dipterocarpus alatus Roxb. จำนวน 500 ต้น ให้กับเทศบาลตำบลท่าสุด เพื่อฟื้นฟูป่ายาง ในพื้นที่สันป่ายาง บ้านถ้ำผาตอง ตำบลท่าสุด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น ตามโครงการ อพ.สธ. โดยมีรองอธิการ ดร.จำรัส กลิ่นหนู เป็นตัวแทนในการมอบกล้าไม้ยางนา แก่ตัวแทนเทศบาลตำบลท่าสุด และได้มีการปรึกษาเชื่อมโยงงานฐานทรัพยากร ท้องถิ่นกับหน่วยงาน เพื่อดำเนินงานร่วมกันในโอกาสถัดไป

อาจารย์ ดร.ชฎาพัศฐ์ สุขกาย ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ ได้มอบหมายให้ อาจารย์สุทธิ มะลิทอง รองผู้อำนวยการฯ พร้อมด้วยนางสาวทัศนีย์ ธรรมติน และนายบุญเป็ง ต่อมใจ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งโพรง ธรรมชาติ (ผึ้งโก๋น) ในโครงการส่งเสริมอาชีพในตำบลทรายขาว ให้แก่เกษตรกรเจ้าหน้าที่ ผู้บริหาร อบต.ทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จำนวน 50 คน ณ ศูนย์การเรียนรู้เชียงแสนฯ มร.ชร. วันที่ 13 กันยายน 2564

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ผศ.ดร.ศรชัย มุ่งไธสง รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พร้อมด้วย ผศ.ดร.จำรัส กลิ่นหนู และ ผศ.ยิ่งศักดิ์ เพชรนิล รองอธิการบดี ร่วมทำกิจกรรมปลูกข้าว แบบนาโยนที่ ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริโครงการอนุรักษ ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พื้นที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (ศูนย์การเรียนรู้เชียงแสนฯ)

ท่านอธิการบดี ผศ.ดร.ศรชัย มุ่งไธสง และท่านรองอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำรัส กลิ่นหน นำทีมงาน ดำนาข้าว กข 43 เพื่อการอนุรักษ์ ณ ศูนย์เชียงแสนฯ มร.ชร. เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2564

ขอเชิญร่วมกิจกรรม“เกี่ยวข้าวพื้นเมืองเชียงแสน” วันที่ 1 ธันวาคม 2563 ณ ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พื้นที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (ศูนย์การเรียนรู้เชียงแสนฯ)


จัดแสดง นิทรรศการ "มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย : แหล่งเรียนรู้สู่การบูรณาการ : พระราโชบายสู่การพัฒนาท้องถิ่น" วันที่ 10 ธ.ค. 63 ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม

สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพฯ ร่วม พิธีบำเพ็ญกุศล อุทิศถวาย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันจันทร์ ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๓ ณ หอปรัชญา รัชกาลที่ ๙ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

กิจกรรมบริการวิชาการ ให้ความรู้ภูมิปัญญาการเลี้ยงผึ้งโก๋น โดยนายสวิง ขันทะสาและนายบุญเป็ง ต่อมใจ ที่บ้านแม่หางหลวง ต.ป่างิ้ว อ.เวียงป่าเป้า จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเกษตรที่สูง เมื่อวันที่ 21 กันยายน 63

ยินดีต้อนรับ นักเรียนจากโรงเรียนแม่จันวิทยาคม ระดับชั้นม.5 และชั้น ม.6 มาศึกษาเรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์เรียนรู้เชียงแสนฯ จำนวน 35 วันที่ 8 ส.ค. 63

ยินดีต้อนรับ คุณนงเยาว์ เนตรประสิทธิ์ นายกสมาคม สหพันธ์การท่องเที่ยวภาคเหนือ จ.เชียงราย และคณะ เข้าศึกษาดูงาน ห้องนิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพกับวิถีชีวิต คนล้านนา พร้อมนำเอกสารความรู้ไปเผยแพร่ต่อมากมาย

กิจกรรมการถ่ายทอดการเผ่าถ่านไบโอชาร์ ณ ศูนย์การเรียนรู้เชียงแสนฯ มร.ชร. วันที่ 29 ก.ค. 63

ท่านอธิการบดี ผศ.ดร.ศรชัย มุ่งไธสง ผอ. สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และนายอำเภอเชียงคำ ดำเนินกิจกรรมมอบโก๋นผึ้ง ให้กับกลุ่มอนุรักษ์ผึ้งธรรมชาติเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ตำบลเชียงบาน จำนวน 70 โก๋น และมอบวัสดุในการเลี้ยงไส้เดือนดิน ให้กับชุมชน เพื่อนำไปใช้ในการผลิตปุ๋ยในเกษตรกรรมและพัฒนาเป็น อาชีพเสริม ต่อไป เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 63

โก๋นผึ้ง แบรนด์ มรภ. เชียงราย พร้อมส่งมอบให้กับชุมชน สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย จัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ "การเลี้ยงผึ้งโพรงป่าให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด 2019 ให้มีความพร้อมสำหรับ การรับมือกับสถานการณ์" ซึ่งคณะทำงานได้ดำเนิน กิจกรรมในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัย คือตำบลสิริเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ภายใต้โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น ตามพระบรมราโชบาย นอกจากจะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แล้ว มหาวิทยาลัยยังมอบโก๋นผึ้งให้กับชุมชนได้ทดลอง เลี้ยงเพื่อใช้เป็น อาชีพเสริมต่อไปในภอนาคต

 

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(รมว.อว.) เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียง ตามแนวพระราชดำริ พื้นที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในการนี้ ผศ.ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในฐานะผู้อำนวยการ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ได้กล่าวต้อนรับ และมีผศ.ดร.จำรัส กลิ่นหนู รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย รายงานผลการ ดำเนินกิจกรรมของศูนย์เรียนรู้ ฯ ที่เป็นพื้นที่ในการรวบรวมเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุน ให้เกษตรกรได้เข้าถึงและเรียนรู้หลักการเกษตรแนว ผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วันที่ 18 มีนาคม 2565 ฝ่ายงานความหลากหลายชีวภาพ และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ลงพื้นที่เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ไม้บ้านป่าข่า ต.ป่าตาล อ.ขุนตาล จ.เชียงราย และ บ้านหนองแรด ต.หนองแรด อ.เทิง จ.เชียงราย เพื่อนำมาเพาะขยายพันธุ์และนำไปปลุกในพื้นที่ต่างๆ ในกิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร และกิจกรรม ปลูกรักษาทรัพยากร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ 2 และ กิจกรรมที่ 3 ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่อง มาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) จากการลงพื้นที่เก็บเมล็ดพันธุ์ไม้ อันประกอบไปด้วย เมล็ดชิงชัน ติ้วขน รางแดง ประดู่ รวมแล้วมากกว่า 3,000 เมล็ด ซึ่งกล้าพันธุ์ที่ได้จากการเพาะจะนำไปปลูกเพื่อรักษา พันธุกรรมพืชในพื้นที่ต่างๆที่ร่วมสนองพระราชดำริฯ เป็นการอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่ป่าให้กับประชาชนชาวไทย ตามแนวทางพระราชดำริฯ โครงการอพ.สธ.

วันที่ 16-17 มีนาคม 2565 ฝ่ายงานความหลากหลายชีวภาพ และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช วางแปลงติดตามพรรณไม้และปริมาณการกักเก็บ คาร์บอนในเนื้อไม้ พื้นที่ป่าปกปักมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 คน มาศึกษาเรียนรู้เทคนิคการวางแปลงร่วมด้วย เพื่อนำไปใช้ในงานวิจัยของนักศึกษา การวางแปลงติดตามพรรณไม้และปริมาณ การกักเก็บคาร์บอนในเนื้อไม้ พื้นที่ป่าปกปักมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายในครั้งนี้ใช้ แปลงขนาด 50X20 เมตร แบ่งเป็นแปลงย่อย 10 แปลง เพื่อเป็นแปลงตัวแทนหาความหนาแน่นของกล้าไม้ ไม้หนุ่ม และไม้ต้น ของพื้นที่ป่าปกปักมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นำไปสู่การติดตามการเปลี่ยนแปลงของชนิด พรรณไม้และความหนาแน่น รวมถึงเป็นฐานการติดตามการกักเก็บคาร์บอนในเนื้อไม้ ซึ่งจะนำไปสุ่งาน carbon credit ในอนาคต

วันที่ 11 มีนาคม 2565 ฝ่ายงานความหลากหลายชีวภาพ และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ร่วมกับโปรแกรม วิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (เชียงราย) นำโดยผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.กฤตวิชญ์ สุขอึ้ง หัวหน้าโครงการวิจัย "การประเมินการกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินของ ป่าชุมชนบ้านร่องคือ ตำบลผางาม อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงรายร่วมกันลงสำรวจพื้นท ี่เพื่อวางแผนการดำเนินงาน ขอบเขต และวิธีการบนฐานบริบทพื้นที่ของป่าชุมชน การสำรวจครั้งนี้ประกอบไปด้วยนักศึกษาจาก โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 คน เจ้าหน้าที่ส่วนงานป่าชุมชนสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (เชียงราย) จำนวน 4 คน ชุมชนบ้านร่องคือ จำนวน 5 คน ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.กฤตวิชญ์ สุขอึ้ง และ นายสุทธิ มลิทอง รองผู้อำนวยการฝ่ายงาน ความหลากหลายชีวภาพ และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งหมด 15 คน

"ฝ่ายงานความหลากหลายฯ ร่วมสนับสนุน อปท. ในงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น"
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ฝ่ายงานความหลากหลายทางชีวภาพ และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริฯ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นำโดย นายสุทธิ มลิทอง รองผู้อำนวยการฯ ลงพื้นที่สำรวจป่าชุมชนหมู่ที่ 2 และป่าพระธาตุจอมปก ตำบลหนองแรด อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เพื่อให้คำแนะนำในการกำหนดพื้นที่สำหรับวางแปลง สำรวจพรรณไม้ในพื้นที่ที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่นของ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแรด โดยมี นายก อบต. ปลัด อบต. และเจ้าหน้าที่ของ อบต.หนองแรด เข้าร่วมรับฟังและร่วมกันวางแผนงาน เพื่อให้การดำเนินการสำรวจทรัพยากรท้องถิ่นเป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและครบถ้วน

"ฝ่ายงานความหลากหลายฯ ร่วมสนับสนุน อปท. ในงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น"
วันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2565 ฝ่ายงานความหลากหลายทางชีวภาพ และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริฯ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย นำโดย นายสุทธิ มลิทอง รองผู้อำนวยการฯ ลงพื้นที่สำรวจป่าชุมชนหมู่ที่ 2 และป่าพระธาตุจอมปก ตำบลหนองแรด อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เพื่อให้คำแนะนำในการกำหนดพื้นที่สำหรับวางแปลงสำรวจ พรรณไม้ในพื้นที่ที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่นของ องค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองแรด โดยมี นายก อบต. ปลัด อบต. และเจ้าหน้าที่ของ อบต.หนองแรด เข้าร่วมรับฟังและร่วมกันวางแผนงาน เพื่อให้การดำเนินการสำรวจทรัพยากรท้องถิ่นเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและครบถ้วน

เมื่อวันที่ 5 ม.ค.2565 ผศ.ดร.จำรัส กลิ่นหนู ผู้อำนวยการสถาบัน ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นำทีมบุคลากรในหน่วยงาน สวัสดีปีใหม่ ผศ.ดร.ศรชัย มุ่งไธสงอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายเนื่องใน โอกาสเทศกาลส่งความสุขต้อนรับปีใหม่ ปี 2565

นายบุญทับ กันทะเตียนและนายกวินท์ จิตอารีย์ นักวิชาการ ของสถาบันฯ ร่วมเป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนในเทศบาลตำบลเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ในกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ "เทคนิคใหม่ทางการเกษตร" ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคม รายตำบลแบบบูรณาการฯ จัดโดยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เมื่อวันที่ 18-19 ธันวาคม 2564 ณ ศูนย์การเรียนรู้ร่วมใจพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทต.เวียงชัย อ.เวียงชัย จ.เชียงราย

วันที่ 16 ธันวาคม 2564 ฝ่ายงานความหลากหลายทางชีวภาพและโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ในรูปแบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 โปรแกรมวิชาเคมี และอุตสาหกรรมศิลป์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในวิชาสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน 30 คน เกี่ยวกับการดำเนินการกิจกรรมสวนพฤกศาสตร์โรงเรียน ในหัวข้อ องค์ประกอบที่ 1 พร้อมทั้งได้สำรวจพรรณไม้ในแปลงบริเวณข้างอาคาร สำนักงานฯ และได้เก็บตัวอย่างพรรณไม้มาจัดทำเป็นตัวอย่าง พรรณไม้แห้ง ผลการดำเนินกิจกรรมผ่านไปด้วยความเรียบร้อย และนักศึกษา มีความตั้งใจตลอดการทำกิจกรรม

นายเศรษฐศักดิ์ สมุดความ ถอดบทเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์และองค์ความรู้ด้านการ จัดการแสดงผลงานทางศิลปะ ให้แก่นักศึกษาโปรแกรม วิชาศิลปกรรมศาสตร์ แขนงวิชาทัศนศิลป์ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 7 คน

ท่านรองอธิการ ดร.จำรัส กลิ่นหนู ประชุมทีมงานเพื่อขับเคลื่อนงานของสถาบันถ่ายทอด เทคโนโลยี นวัตกรรมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 64

วันที่ 13 ตุลาคม 2564 นายเสถียร คำวัง รองนายก เทศมนตรีตำบลท่าสุด และนายพชรพง ทุมมาศ ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตำบลท่าสุด จัด กิจกรรมปลูกต้นยางนา ร่วมกับ สมาชิก สภาเทศบาลตำบลท่าสุด ผู้นำฝ่ายปกครอง และ ประชาชนบ้านถ้ำผาตอง ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่อง ในวันรักต้นไม้แห่งชาติ ประจำปี 2564 โดยได้รับการสนับสนุนกล้ายางนา จากฝ่ายงานความหลากหลายทางชีวภาพและ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลนี นวัตกรรมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 500 ต้น

***กิจกรรมของหนึ่งในเครือข่ายงานฐานทรัพยากร ท้องถิ่น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย...เราจะร่วมอนุรักษ์ไป ด้วยกัน***

ผศ.ดร.จำรัส กลิ่นหนู รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถ่ายทอดการปลูกผักโดยใช้ระบบให้น้ำอัตโนมัติ ให้ทีมภาคสนามของส่วนงานความหลากหลายทาง ชีวภาพ สิ่งแวดล้อมและโครงการ อพ.สธ. สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย องค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้รับในวันนี้สามารถนำ ไปต่อยอดและถ่ายทอดแก่ชุมชนได้ต่อไป

***ขอขอบพระคุณ ผศ.ดร.ปิยพร ศรีสม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และทีมงานบุคลากร ที่ให้ความอนุเคราะห์ชุดอุปกรณ์ต้นแบบ สำหรับแหล่งเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย

อาจารย์ ดร.ชฎาพัศฐ์ สุขกาย ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมและ บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย พบปะบุคลากรและให้แนวทางการดำเนินงานสำหรับ ฝ่ายงาน ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ วันที่ 29 มิถุนายน 2564 ณ สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาท้องถิ่น และอาเซียน มร.ชร.

นิทรรศการ "มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย แหล่งเรียนรู้การบูรณาการพระราโชบายสู่การ พัฒนาท้องถิ่น" ในงานการประชุมสัมมนาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั่วประเทศ วันที่ 13 มีนาคม 2564 ณ หอประชุมใหญ่ มร.ชร.

ผักใจดี มีแจกเกือบทุกอาทิตย์ ติดตามเพจเพสบุคของหน่วยงานได้เลยคะ

สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกับชมรม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงรายจัดกิจกรรมปลูกป่า เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว บนพื้นที่ดอยเกษตรโดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จำรัส กลิ่นหนู รองอธิการบดีรักษาราชการแทนผู้อำนวยการ เป็นประธาน เมือวันที่ 17 ก.พ. 64

บุคลากร สถาบันความหลายทางชีวภาพฯ เป็นวิทยาการ "อบรมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง การเสริมความรู้ภูมิปัญญาด้านเกษตรพอเพียง" เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 64 และติดตามกันอีกครั้งในวันที่ 10 ก.พ. 64 ให้แก่ นศ. คณะครุศาสตร์ โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปี 1 มร.ชร. จำนวน 31 คน องค์ความรู้ที่ถ่ายถอดให้แก่ น.ศ. ได้แก่ 1. การผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือน
2. การผลิตน้ำหมักชีวภาพและการทำปุ๋ยหมักแบบ ไม่พลิกกอง
3. การผลิตแกลบดำและการทำถ่านไปโอชาร์
หวังว่า นศ. จะนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

ผักใจดี มีดีจึงให้ ผ่านกระบวนการทดลอง การผลิต ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ ผสมผสานองค์ความรู้ จากธรรมชาติสู่ผักอินทรีย์ ส่งมอบผักใจดี CRRU เพื่อผู้รับได้ดีใจติดตามผลผลิตของหน่วยงาน

 

 

"แนวทางการพัฒนาเครือข่ายอนุรักษ์ผึ้งโพรงป่า" ของพี่สวิง ขันทะสา นำมาฝากคะ
เหตุผล 3-4 ประการที่จำเป็นต้องทำ คือ
1. การเลี้ยงผึ้งโพรงป่าจำเป็นต้องมีผู้เลี้ยงร่วมกัน เพราะจะเป็น การลด การใช้สารเคมีในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เมื่อมีผู้เลี้ยงเพิ่มมากขึ้นผลผลิตเพิ่มมากขึ้นปัญหาในลำดับ ต่อไปคือ เรื่องการตลาด ฉะนั้นถ้าต่างคนต่างขายหรือต่างคนต่างพัฒนา การพัฒนาเป็นไปได้จำกัดการพัฒนาเป็นเครือข่าย ถึงแม้จะยาก และช้า แต่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาด้านการตลาดและคุณภาพ การผลิตให้ ดีขึ้น
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายมีแนวทางในการ พัฒนาชุมชน ตามศาสตร์พระราชาอยู่แล้ว สามารถเป็น ศูนย์กลางในการประสานงานและพัฒนาชุมชนได้อ ย่างต่อเนื่อง
4. เพื่อให้เกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน การมีส่วนร่วม ในการแสดง ความคิดเห็นและวางแผนการพัฒนาจึงมีความจำเป็น การรวมเป็นกลุ่มและเครือข่ายจะเป็นการช่วยเหลือกัน ขยายกิจกรรมการเลี้ยงผึ้งโพรงป่าให้พัฒนาก้าวหน้า ต่อไป ในอนาคต ได้

 

กิจกรรมตรวจเยี่ยมและติดตามการพัฒนาตามแนว พระราชดำริ ของศูนย์เรียนรู้เชียงแสนฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 63

นายบุญทับ กันทะเตียนและนายกวินท์ จิตอารีย์ เจ้าหน้าที่จากฝ่ายงานความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้เป็นวิทยากรให้คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ที่จัดกิจกรรม “การผลิตปุ๋ยคุณภาพสูง จากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นแบบเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อเป็นการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก ให้กับครูและนักเรียนโรงเรียนองค์การบริการ ส่วนตำบลทรายขาว บ้านท่าฮ่อ ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยถ่ายทอดองค์ความรู้การเลี้ยงไส้เดือนดิน การทำปุ๋ยจากไส้เดือนดิน การทำน้ำหมักจากมูลไส้เดือนดินและการทำ น้ำหมักจากหน่อกล้วย ซึ่งได้รับความสนใจจากครูและนักเรียนเป็นอย่างมาก

วันที่ 18 มกราคม 2565 ฝ่ายงานความหลากหลายทางชีวภาพและโครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เข้าร่วมประชุมเพื่อให้คำแนะนำในการวางแผนการ ดำเนินงาน งานฐานทรัพยากรท้องถิ่นของเทศบาลตำบลสิริเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ณ สำนักงานเทศบาลตำบลสิริเวียงชัย เพื่อให้การร่วมสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) งานฐานทรัพยากรท้องถิ่นในปีงบประมาณ 2565 ของเทศบาลตำบลสิริเวียงชัย ให้มีประสิทธิภาพและดำเนินงานสำเร็จดังแผน การดำเนินงาน ทั้งนี้ ฝ่ายงานความหลากหลายทางชีวภาพและ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยังได้ส่งมอบแผ่นป้ายพรรณไม้ที่ทางสถาบันฯ ได้เคยสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้ใน พื้นที่ป่าปกปัก มา ณ โอกาสนี้ด้วย

กิจกรรม "แจกกล้าไม้ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว"ส่วนงานความหลากหลาย ทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อมและโครงการ อพ.สธ. สถาบันถ่ายทอด เทคโนโลยี นวัตกรรมและบริการวิชาการ มร.ชร. วันที่ 16 ก.ค. 64

กิจกรรม "แจกกล้าไม้ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว" ส่วนงานความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม และโครงการ อพ.สธ. สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม ท่านใดที่จองไว้ตามวันเวลาในใบลงทะเบียนอย่าลืม มารับกล้าไม้ของท่านนะครับ ตรวจสอบรายชื่อตามลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ
https://bit.ly/3kuySJZ

บุคลากร สถาบันความหลากหลายฯ เป็นวิทยากร กิจกรรม สิ่งแวดล้อมศึกษา ให้นักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ มร.ชร.

อ.ดร.แสนวสันต์ จาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ อ.นเรศ ใหญ่วงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผู้ประสานงาน จัดอบรม ให้ความรู้ ด้านเทคนิคและวิธีผลิตปุ๋ยหมักสูตรวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ให้กับ ทีมงามศูนย์เชียงแสนฯ และชาวบ้านรอบศูนย์ฯ เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 63

ผลิตภัณฑ์ ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน : ผลิตโดยศูนย์เรียนรู้ เชียงแสนฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นำมามอบให้ชุมชนทดลองใช้และเป็นแนวทาง ในการพัฒนา อาชีพเสริม ต่อไป ณ ต.เชียงบาน อ.เชียงคำ จ.พะเยา เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 63

กิจกรรมติดตั้งระบบน้ำหยดสำหรับการปลูกผัก แบบตั้งโต๊ะ โดยใช้แผงโซลาเซลล์เป็นแหล่งพลังงานในการให้น้ำ ต.เชียงบาน อ.เชียงคำ จ.พะเยา วันที่ 23 มิถุนายน 2563

สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวด ล้อมเพื่อ พัฒนาท้องถิ่น และ อาเซียน ร่วมกิจกรรมวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินี ณ บริเวณลานเอนกประสงค์หน้า พระบรมฉายาลักษณ์ สำนัก อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 63

กิจกรรมอนุรักษ์และขยายพันธุ์กล้าไม้ สำหรับใช้ในกิจกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาของ สถาบันความ หลากหลายฯ และมหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย เป็นการสนอง พระราโชบายตาม โครงการ อพ.สธ.และศาสตร์พระราช เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 63

สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพฯ และสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ติดตามความก้าวหน้า กิจกรรมการเลี้ยง ผึ้งโก๋น (ผึ้งโพรงป่า) ในพื้นที่ ต.เชียงบาน อ.เชียงคำ จ.พะเยา เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 63

ผักปลอดสารของสถาบันความหลากหลาย ทางชีวภาพฯ มร.ชร. ผลงานการดูแลโดย นายบุญทับ กันทะเตียน นำไปแจกจ่าย ให้พี่น้อง มร.ชร. ได้ทดลอง ชิมกันคนละ เล็กน้อย เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 63

ศูนย์เรียนรู้เชียงแสน สถาบันความหลากหลายฯ มร.ชร. โดยมีนายสวิง ขันทะสาและนายบุญเป็ง ต่อมใจ ให้บริการวิชาการ ให้คำปรึกษาแนวทางการเลี้ยงผึ้งโก๋น กับชุมชนบ้านแม่หาง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 63 ชุมชนให้ความสนใจเพื่อจะทำเป็นอาชีพ เสริมเลี้ยง ครอบครัว

ศูนย์การเรียนรู้เชียงแสนฯ จัดกิจกรรม : ปลูกข้าวปลอดสารพิษและมอบเมล็ดพันธุ์ข้าว ให้กับชุมชน ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริ โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (อพ.สธ. มร.ชร.) ช่วงเวลา 10.00 -12.00 น. วันที่ 22 มกราคม 2563 ณ ศูนย์การเรียนรู้เชียงแสนฯ มร.ชร.

ยินดีต้อนรับ คณะศึกษาดูงานจาก พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ วิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี และศูนย์แม่ข่ายประสานงานโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ( ศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ.-ภาคใต้) จำนวน 11 ท่าน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างเครือข่าย เยี่ยมชมห้องนิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพกับ วิถีวิตคนล้านนา และ สวนของกิ๋นบ้านเฮา ของสถาบันความหลากหลายทาง ชีวภาพฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนา ท้องถิ่น มร.ชร. มอบข้าวพื้นเมืองเชียงแสน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวเจ้าพันธุ์ กข 43 ข้าวเหนียวหน่อแพร่ ข้าวเหนียวก่ำถ่าน จำนวน 150 แพ็ค ให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เพื่อร่วมกิจกรรม ตู้ปันสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย # เราจะผ่าน โควิด 19 ไปด้วยกัน เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 63

กิจกรรมการประชุมชี้แจงและรับฟังแนวทางการดำเนิน งานวิจัย เพื่อพัฒนาศักยภาพของศูนย์การเรียนรู้ เชียงแสน มหาวิทยาลัย ราชภัฎเชียงราย วันที่ 14 ก.ค. 63

ศูนย์เรียนรู้เชียงแสนฯ สภาบันความหลากหลายฯ มร.ชร.ให้บริการ วิชาการ ภูมิปัญญาการเลี้ยงผึ้งโก๋น ณ บ้านห้วยชมพู ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 63

จัดกิจกรรมดีๆคะ "การอบรมและถ่ายทอดการผลิตปุ๋ยชีวภาพ โดยใช้ไส้เดือนดิน" ณ เทศบาล ต.สิริเวียงชัย อ.เวียงชัย จ.เชียงราย ให้แก่ชาวบ้านที่สนใจ จำนวน 40 คน โดยวิทยากรการถ่ายทอด คือ : นายบุญทับ กันทะเตียนและนายกวินท์ จิตอารีย์ เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 63

นายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัย เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ตามแนว พระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่อง มาจาก พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พื้นที่อำเภอ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมือวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563

แจก ผักใจดี : สลัดผักกรีนโบว์ สำหรับผู้ติดตามเพจของสถาบันความหลากหลายทาง ชีวภาพฯ มี 8 ชุด คะ ปลูกโดยนายบุญทับ กันทะเตียน วันที่ 28 ตุลาคม 2563 (ตอนนี้หมดแล้วคะ)

คณาจารย์ทีมวิจัย ABC มร.ชร. จัดเวทีเก็บข้อมูลเพื่อวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์และ จัดทำสื่อเรียนรู้ของศูนย์เชียงแสน โดยจัดเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่และผู้แทนชุมชน รอบศูนย์ฯ เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 63

การปลูกข้าวพื้นเมืองเชียงแสน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรม ราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ณ ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จ พระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 นักวิชาการศึกษา สถาบัน ความหลาก หลายฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้ลงติดตาม ขยายผลการดำเนินงาน โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามพระบรมราโชบาย พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำ และถ่ายทอดภูมิปัญญาการเลี้ยงผึ้งโก๋น ให้กับพี่น้อง ประชาชน ชุมชนบ้านปางต้นผึ้ง ณ วัดบ้านปางต้นผึ้ง ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ซึ่งเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้กับประชาชน สามารถนำ ไปประกอบ เป็น อาชีพเสริมรายได้ต่อไป กิจกรรมครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมให้ความสนใจสูงมาก

ประชุมวางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาศูนย์ เชียงแสนฯ มร.ชร. ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืน เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 63


สถิติผู้เข้าเยี่ยมชมเว็ปไซต์ : สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและอาเซียน
เริ่มนับวันที่ 25/09/2562

semenaxcaps.com



สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและอาเซียน
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
80 หมู่ 9 ถนนพหลโยธิน ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100
โทรศัพท์สำนักงาน 053-776028 แฟกซ์ : 053776028 โทรศัพท์ภายใน 053-776000 ต่อ 2101
E-mail : biodiversitycru@gmail.com